วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


ไก่ชนพม่ารำวง คืออะไร เป็นอย่างไร
พม่ารำวงเป็นไก่ที่มีสไตล์เมื่อคู่ต่อสู้เดินเข้าหา จะวิ่งออกไปสั้นๆ วนซ้ายไป วนขวาไปมาแล้วกลับมาตบ แล้วเต๊ะแล้วตีด้วยแข้งหน้า พม่ารำวงจะเป็นไก่ที่ไม่ยอมให้คู่ต่อสู้ได้เข้าใกล้ตัวเลย จะวิ่งหนีออกประมาณ 3-4 ก้าวแล้วจะกลับมาตบ มาเต๊ะ มาตี จนคู่ต่อสู้เข้าไม่ถึงตัว เมื่อเจอไก่เชิงไล่ขี่คอ เมื่อไก่เชิงขึ้นไล่ประกบคอ จะออกวิ่งไปข้างหน้าเพื่อหาจังหวะตี คือไม่มีคอให้กอด ไม่มีคอให้ขี่ หรือเมื่อไก่เชิงมุดมัดเข้าปีก จะวิ่งออกแล้วกลับมาตบ ไม่มีปีกให้เข้าอีก
ไก่ประเภทนี้เก่ง ไอคิวดี ฉลาด แต่มักจะหลงทางคู่ต่อสู้ที่เป็นพม่า100 ที่ไม่ยอมเข้าเกี้ยว หรือเดินเข้าหาด้วยกัน ไก่พม่ารำวงส่วนมากจะเป็นไก่ที่เก่งเมื่อคู่ต่อสู้เดินเข้าหา แต่มักจะเสียเชิงชนกับไก่ที่ไม่ยอมเดินเข้าหา เช่นพม่าลูก 100 ไม่ยอมเข้าเกี้ยวเลย พม่าพวกนี้เก่งพม่าด้วยกัน จะหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เดินเข้าหา ยั่วยุไปเรื่อยๆ ตัวเก่งๆลูกล่อลูกชนดีๆ ปากจะจิกดินคุ้ยเขี่ยยั่วยุคู่ต่อสู้ จนคู่ต่อสู้โมโห เมื่อคู่ต่อสู้โมโหจะเดินเข้าหา และจะเป็นตัวออกอาวุธให้คู่ต่อสู้หลงทาง
สำหรับพม่ารำวงถ้าตีไก่เชิง หรือไก่ที่เดินเข้าหาจะเป็นตัวโชว์ลีลาเพลงแข้งซะเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการเพาะพัฒนาพม่ารำวงที่ผมจะกล่าวถึงนี้ ผมจะพูดถึงการเพาะพัฒนาให้ไก่พม่ารำวงที่สามารถเพาะพัฒนาออกมาแล้วสามารถ ที่ตีได้ทั้งไก่เชิง และไก่พม่าที่ไม่ยอมเข้าเกี้ยวเลย สำหรับแนวทางการเพาะพัฒนาก็มีวิธีการเรียนรัดดังนี้ครับ ก่อนอื่นต้องหาพ่อพันธ์ที่เป็นพม่ารำวงที่มีไอคิวดี ออกวิ่งวนซ้ายขวา แล้วตี และที่สำคัญต้องออกแข้งถี่มากๆ ถึงจะดี ไม่ใช่ได้แต่ลีลา วิ่งวนไปมา วิ่งสั้นสลับยาว แล้วค่อยออกอาวุธ
เราจะคัดพ่อพันธ์ที่ออกแข้งถี่ ลีลาดี วิ่งวนซ้าย ขวา ออกแข้งแม่นยำ แล้วหาแม่พันธ์ที่ตัวคู่ของมันผู้ชนถึงในสนามมาแล้ว และลีลา ลีลาที่ต้องการคือเดินเสริฟแข้งหน้า หรือเดินกระแทกแล้วซิ่งออกข้าง เต๊ะทีวิ่งออกสไลท์ข้างซ้ายที สไลท์ขวาที และที่สำคัญต้องเป็นไก่ที่ตีชนะไก่พม่าที่ถอย และสายพันธ์ที่เราจะพัฒนาต้องเป็นไก่พม่าเดินเสริฟ แล้วนำมาเพาะกับพ่อพันธ์พม่ารำวง ที่เราเตรียมไว้ เพื่อให้ได้สายพันธ์ที่ตีได้ทั้ง ไก่เดินเข้าหาและไก่ที่ถอยหลังตี “


ขอขอบคุณไก่พม่ารำวง-วิกิพีเดีย
@@ ประวัติสายพันธุ์ (สายพม่าไต้หวัน) @@

((ขออนุญาต เจ้าของรูปไก่ชน และ ข้อมูลพม่าไต้หวัน เอามาลงเพื่อศึกษาสายพันธุ์พม่าไต้หวันไห้เข้าใจง่ายมากขึ้น))

b]ประวัติสายพันธุ์ (สายพม่าไต้หวัน) ต้นเหล่ามาจาก แม่ปลอกแดง
คำว่า "สายปลอกแดง" ที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้จริงๆที่มาของชื่อนี้ก็คือสีของห่วงใส่ขาของแม่ไก่สายเลือดพม่าลูก
ผสมใต้หวันตัวนึงคับ เป็นแม่ไก่สีแดงหน้าตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสาย แม่ไก่ตัวนี้เริ่มแรกเดิมทีคนผสมบรีดขึ้นมา
เป็นเซียนไก่ท่านนึงคือ "พี่ใหญ่ บางนา หรือคุณสัมพันธ์ พันพาณิชย์" ถ้าสะกดชื่อผิดผมต้องขออภัยด้วยคับ
ประกอบอาชีพทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต์ ผมเคยโทรคุยกับแกเมื่อปีก่อนช่วงหลังจากเอาเจ้าสีไทยไป
ชนที่สนามเทิดไท และถามคำถามจากแกหลายอย่างเกี่ยวกับไก่สายนี้ แกได้บอกผมว่า
(อาจจะคลาดเคลื่อนไปนิดก็อย่าถือสาผมนะคับท่านผู้อ่าน) แกบอกว่าแกไปแบ่งไก่ตัวเมียสายญี่ปุ่น
(จริงๆหลังๆอาเจ็กเลี้ยงนครปฐมไปเช็คข้อมูลมาให้ถึงมารู้ว่าเป็นไก่ไต้หวันภูเขา จากซีพี ส่วนพี่ใหญ่ทุก
วันนี้แกยังเข้าใจและเรียกว่าไก่ญี่ปุ่นอยู่เลย) มาจากผู้ใหญ่ท่านนึงที่จังหวัดกาญจนบุรีโดยให้เพื่อนแกชื่อว่าพี่ต่อ
เข้าไปแบ่งมาเป็นแม่ไก่ไต้หวันมาผสม(ตรงนี้ผมอ่ะไม่เข้าใจว่าเป็นลูกร้อยหรือเปล่านะคับ)
แกมาผสมกับพ่อไก่พม่าตัวนึงซึ่งผ่านการชนชนะมา 6 เที่ยว เป็นไก่พม่ามาจากภาคเหนือคับ
ชุดนี้พี่ใหญ่แกเก็บตัวเมียไว้ 2 ตัว แล้วเจ้า 2 ตัวนี้พีใหญ่แกก็นำมาผสมกับ"เจ้าตองา"
(ไก่พม่าลูกผสมสีประดู่แดงปีกแดงแข้งเขียวหงอนชี้ฟ้าไม่มีเหนียง) ได้ลูกออกมาเป็นพวก เจ้าแจ้เวล แม่ปลอกแดง
แม่ของเจ้าแข้งปานแม่เจ้าบอดเล็ก แม่เจ้าเดือยสั้นเจ้าแร๊ฟเตอร์ เจ้าเยียร์แดง เยียร์ลิ้นขาด เยียร์บางประหัน
ไก่พวกนี้ผมแยกแม่ไม่ถูกคับว่าเกิดจากแม่ไก่ตัวไหน แต่ที่แน่ชัดคือเกิดจากแม่ไก่ 2 ที่พัฒนามาจากพ่อไก่ที่ชนชนะมา 6เที่ยว
สีเยียร์ที่ติดมาทางสายพันธุ์น่าจะติดมาทางพวกไต้หวันคับเพราะพ่อไก่ที่ผสมมาไม่มีสีเยียร์คับ
ตัวผู้ชุดนี้ส่วนนึงได้นำออกมาเลี้ยงตีที่ซุ้ม"พรนเรศวร นครปฐม" ที่นำทีมโดยเสี่ยเอ็ม ได้ออกสร้างชื่อด้วยจุดเด่น
คือเบอร์แข้งที่ชัดเจน ฝังแข้ง แถมด้วยกระดูกที่ดี ลีลากลางๆ หนุน ถอด ขยับ ในสมัยนั้นจะชนกับไก่ไทยๆเป็นส่วนใหญ่
ก็ประสบความสำเร็จอย่างดีคับ จนกระทั้งตัวเมียชุดพวกนี้ได้แบ่งออกมาผสมในหมู่เพื่อนสนิท มีปู่ชิตได้แม่ไก่ไป 1 ตัว(แม่ปลอกแดง)
ไป พี่รม นครปฐมได้ไปอีกตัวนึง และน้าแดง ราชบุรีได้ไป 2 ตัว(แม่ของเจ้าเดือยสั้นที่ ส.ตรัยเพชรใช้ทำสายและอีกตัว
เป็นแม่เจ้าแข้งปานและเจ้าบอดเล็กพ่อของเจ้าเคราน้อย) ด้วยความสนิทสนมกันปู่ชิตจึงได้แบ่งแม่ปลอกแดงมาให้พี่บอยผสม
 ซึ่งพี่บอยก็ได้ตั้งชื่อตามปลอกขาที่ใส่ไว้เป็นปลอกขาสีแดง เลยเรียกติดปากว่าแม่ปลอกแดง และได้นำมาผสมกับพ่อไก่สายชูกาเรย์
(สา คาราบาวตัวที่ชนะที่สนามโขดหิน ระยอง) และสายพม่าที่พัฒนาอยู่เดิม จนลูกจนหลานออกมามีผลงานที่ดีชัดเจนขึ้นใน
การวางแผลและลีลาที่ดีขึ้นมาอีกกว่าชุดเก่าๆ ต่อยอดออกมาถึงทุกวันนี้คับ 



ขอขอบคุณไก่ใต้หวัน-วิกิพีเดีย



ไก่เชิงเก่าแก่แต่โบราณ

  เมื่อพูดถึงไก่เชิง หลายคนนักเลี้ยงไก่ นักเล่นไก่เชิงจะคิดไปถึงไก่ตราด - ไก่พนัส - ไก่บางคล้า - ไก่แปดริ้ว - ไก่จันทบุรี ไก่เหล่านี้ลล้วนแล้วแต่เป็นไก่ที่มีชั้นเชิงหลายรูปแบบหลายกระบวนท่าจนเป็นที่เลื่องลือและรู้จักกันมานาน
แต่ก่อนเชิงไก่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะคนเล่นไก่จะเล่นกันแค่แพ้ชนะ แพ้ก็เสียเงิน ชนะก็ได้เงิน มักจะเล่นฝังหัวยกบางกัน เล่นแบบไม่ออกตัว เขาจะหาไก่ตีหนักๆลำโตๆน็อคสถานเดียว มักนิยมไก่ตั้งกอด 2หน้าตีแบบใครดีใครอยู่ ไก่เชิงสมัยก่อนมักลำไม่โต ตีไม่หนักไม่ค่อยแข็งแรงและเชื่อกันว่ามักใจน้อยไม่อึด ทน เพราะปล้ำน้อยไม่ค่อยเจ็บจึงมักไม่แข็งพอพบคู่ต่อสู้อึดทนยืนหยัดได้ 6-7 อันไก่เชิงจะหมดท่าหมดเชิงหมดแรงมาเจอมาโจ้ตีกับไก่ตั้งก็ตายสถานเดียว ไก่เชิงเลยไม่ค่อยนิยมกัน มักนิยมไก่แข็งตั้ง หน้า ลำหนักมีลำหักลำโตและแข็งแรง
สมัยต่อมามีนักเล่นไก่ที่เป็นมืออาชีพและมีนักเลี้ยงไก่รับจ้างเลี้ยงไก่ได้เงินเดือนแพงๆ (มีรายได้มากกว่าคนเรียนจบปริญญาเสียอีก) เซียนนักเล่นไก่รู้จักเล่นออกตัวแพ้ชนะก็ได้เงิน บางครั้งแพ้กลับมาได้เงินมาก ถ้าเป็นต่อก่อนมากๆแล้วมาแพ้ในอัน 4 - 5 ยิ่งได้เงินง่ายและมาก หรือได้เงินสองข้างเลยก็มี การเล่นการเลี้ยงไก่เชิงง่ายกว่าไก่ตั้งเพราะไก่เชิงจะมีกระบวนท่ามากกว่าไก่ตั้งมาก ทำให้ไก่ตั้งงวยงงหลงเชิงเสียเชิง ทำให้เป็นโอกาสไก่เชิงจะเข้าตี ถ้าไก่ตั้งทนไม่ได้ก็จะแพ้ในอันต้นๆเพียง 2 - 3 อัน คนเล่นไก่เชิงจะได้เงินง่ายมาก
ตอนหลังๆไก่เชิงมีการพัฒนามีการเลี้ยงให้แข็งแรงเป็นอย่างดีพอๆกับไก่ตั้ง เป็นอันว่าไก่ตั้งก็หมดสิทธิ์ไปเลย เซียนไก่ชนและนักเล่น ไก่ชนจึงหันมานิยมเล่นไก่เชิงกันเป็นส่วนมากมีผลต่อการเพาะเลี้ยงไก่ชนด้วย คนที่เพาะเลี้ยงไก่ชนเชิงจึงขายได้ดีกว่าเพาะเลี้ยงไก่ตั้งหรือไม่มีเชิง และราคาก็สูงตามไปด้วย นักเล่นนักเพาะจึงต้องหาสายพันธุ์มาเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ไก่เชิงตามใจปรารถนา แหล่งกำเนิดไก่เชิงแต่โบราณมีอยู่ หลายแห่งเช่น
1. แหล่งไก่เชิงตราด
เป็นแหล่งไก่เชิงที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณแหล่งไก่เชิงตราดที่ดังๆ คือ ท่าพริก เป็นแหล่งไก่เชิงที่โด่งดังมาก ลักษณะของไก่เชิงตราด
หน้าตา มักจะเป็นไก่หน้ากลมหงอนหินหรือหงอนเบ้คางรัดมีเหนียงเล็กน้อย กะโหลกยาว ตามีประกายแจ่มใส
สีสัน มักจะเป็นไก่ประดู่หางดำ แข้งดำตาลาย หรือประดู่แดงหางหมกหรือหางดำ ในพันธุ์แข้งดำสีสร้อยคอจะเห็นชัด สร้อยปีก และสร้อยหลังจะมองดูอมเขียวปลายขนระย้าจะออกเหลืองเล็กน้อย ในพันธุ์หางหมกแข้งออกน้ำตาล สีสร้อยจะชัดเจน หางมักสั้นไม่ค่อยยาว ลักษณะหางดกตั้ง
รูปร่าง จะเป็นไก่ค่อนข้างจับยาน กระดูกใหญ่ ลำตัวยาว ปั้นขาใหญ่ บั้นท้ายยาวโต คอยาว หางปุ้น
แข้ง ขา เกล็ด ไก่ตราดมักเป็นไก่แข้งคัดมีเกล็ดพิฆาตดี แต่เกล็ดอันมีน้อยคือเกล็ดจากเดือยขึ้นไป เกล็ดเดิมพันไม่สุงนัก มักสลับมีขาดมีต่อ
ชั้นเชิง ไก่ตราดส่วนมากเป็นไก่เชิงล้น คือมีเชิงมากไป มักจะชนได้สองคอ สองปีก สองขาเป็นหลัก ซึ่งเป็นเชิงนิยมการมีหลายเชิง จะมีทั้งดีทั้งเสีย ดีคือ ถ้าเป็นรองหรือพบตัวเก่ง จะสามารถเปลี่ยนแก้เชิงได้ เสียคือ ถ้าเป็นต่อมักจะเล่นเชิงมากไม่ค่อยเผด็จศึกทำให้ยืดเยื้อ
สรุปไก่ตราดเป็นเชิงมากที่สุด ชนเอาตัวรอดได้ การเลี้ยงต้องเลี้ยงให้แข็งแกร่ง เพราะต้องใช้แรงมากในการเข้าทำเชิง ถ้าเลี้ยงไม่ดีเลยอัน ไป แล้วยังเผด็จศึกไม่ได้จะลำบากจะหมดแรงและหมดเชิงตามมาอะไรจะเกิดขึ้นก็คงจะรู้
2. ไก่เชิงพนัสนิคม
อำเภอพนัสนิคม อยู่จังหวัดชลบุรี เป็นแหล่งกำเหนิดไก่เชิงอีกแห่งหนึ่งที่เราเรียกกันว่า "ไก่พระรถ" คือไก่พระรถเสนในเรื่องนางสิบสอง หรือเรื่องพระรถเมรี เป็นไก่เชิงหลักจัด คือเชิงบน เชิงมัด แข้งเปล่า ลักษณะของไก่เชิงพนัสฯ
หน้าตา ไก่พนัสฯจะมีหน้าตากลมใหญ่ ผิวหน้าหนา หงอนใหญ่ กะโหลกใหญ่ยาว หงอนมักจะบี้หรือเบ้เล้กน้อย ตา ชั้นมีประกาย แจ่มใสเป็นไก่ฉลาด
สีสัน ไก่เมืองพระรถมีเก่งๆหลายสี เช่น เหลืองหางขาว สีเขียวหางดำ สีเขียวเลา สีเทาทองคำ สีเทาทองแดง สีเหลือง สีเทาค่อนข้างดี สีเขียวค่อนข้างหายาก ถ้าพบเห็นจะเก่ง ไก่พนัสฯจะมีสีสันชัดเจนกว่าไก่ตราด
รูปร่าง ไก่พนัสฯเป็นไก่รอยใหญ่ กระดูกดี ลำตัวยาว หางยาว ปั้นขาใหญ่ จับมักได้เปรียบคู่ต่อสู้
แข้ง ขา เกล็ด ไก่พนัสฯ มักเป็นเกล็ดจระเข้ขบฟัน เกล็ดมักใหญ่ นิ้วยาว แข้งเป็นลำหวาย มีเกล็ดพิฆาตหลายอย่าง เป็นไก่ตีแม่น ตีเจ็บ ลำหนักกว่าไก่ตราด
ชั้นเชิง ไก่พนัสฯเป็นไก่ที่มีลีลาดีแห่งหนึ่ง ชน คอ หน้า ปีกเป็นหลัก เชิงไม่มากเท่าไก่ตราดเรียกว่าไม่แพรวพราวเท่าตราด แต่เชิงไม่ล้นถ้าชนกันเกิน อันแล้วไก่พนัสฯ จะยืนได้ดี แต่ถ้าอันต้นๆ อันมักจะเสร็จไก่ตราด
สรุป ไก่พนัสฯเป็นไก่เชิงหลักดีไม่ล้น การเลี้ยงต้องเลี้ยงให้แข็งแกร่งแรงมากจะดีมีโอกาสเผด็จศึกได้เร็วและช้าสุดแล้วแต่โอกาสเรียกว่า มีหลายก็อก
3. ไก่เชิงบางคล้า แปดริ้ว
บางคล้าแปดริ้วอยู่ใน จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเหล่าไก่เชิงดีอีกอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ไก่เชิงบางคล้า จะมีเชิงคล้ายๆกัน จะชน คอ ปีก ขา จะเน้น คอ คือชนเชิงบน ขี่กอด ทับ ล็อคเป็นหลัก ไก่เชิงบางคล้าแปดริ้วจะเป็นไก่สีประดู่หางดำหรือหางขาวจะเป็นเหล่าที่เก่งสีอื่นๆจะด้อยกว่า ลักษณะไก่เชิงบางคล้า
หน้าตา ไก่เชิงบางคล้า จะเป็นไก่หน้าใหญ่ หน้ายาว หงอนมักบี้ ตามีประกาย คางรัดเหนียงแลบดูน่ากลัวกว่าไก่เชิงอื่นๆ
สีสัน ไก่เชิงบางคล้า จะเป็นไก่ประดู่หางดำที่สวยงาม คือ ทั้งสวยทั้งเก่ง ในบ้านที่รักษาเหล่าสายพันธุ์ไว้ดีๆจะเป็น ไก่สีสันสวยงามมากประกวดได้เลย
รูปร่าง ไก่แปดริ้ว เป็นไก่รูปร่างสวยงามจับยาวสองท่อน จับกลม บานหัวบานท้าย หางพัด หางกระลวยดกและยาว โดยเฉพาะพันธุ์ประดู่หางดำหางจะยาวมาก ปั้นขาใหญ่ยาว จะเป็นไก่รอยใหญ่ทั้งสวยทั้งเก่ง
เกล็ดแข้ง ไก่เชิงบางคล้า เป็นไก่เกล็ด 2-3 แถว แบบจรเข้ขบฟันหรือปัดตลอด เป็นไก่ตีเจ็บ แข้งขาเป็นลักษณะแข้งคัดออกเหลี่ยม นิ้วยาว
ชั้นเชิงลีลาไก่เชิงบางคล้า เป็นไก่เชิงบน คือเชิงชนคุมบนเก่ง ถ้าได้เหล่าเชิงล็อก กอด คออ่อนดีๆจะแพ้ยาก ไก่บางคล้าเก่งๆ จะชน คอ หน้า ขา เป็นหลัก
สรุป ไก่เชิงบางคล้า แปดริ้ว เป็นไก่ชนหลัก เชิงคุมบนดี ลำโต รูปร่างสวยงาม ประกวดก็ได้ ตีก็ดี
4. ไก่เชิงจันทบุรี จันทบุรี นอกจากจะเป็นเมืองที่มีพลอยสวยงาม ทุเรียนอร่อย เงาะล่อนแล้ว จันทบุรียังมีไก่เชิงชนดีอีกด้วย ไก่จันทบุรี เป็นไก่ไม่ค่อยสวยแต่มีฝีเท้าจัด ชั้นเชิงพอๆกับไก่ตราดไม่แพ้กัน
รูปร่าง เป็นไก่ทรงหางหอกตั้งจับยาน อกสั้น เป็นไก่ชนเร็ว หางสั้นๆปุ้นๆ ปั้นขาใหญ่ คอยาว ถ้าทรงคล้ายๆไก่เวียดนามจะเก่ง
หน้าตา ไก่จันทบุรี เป็นไก่หน้าใหญ่ หงอนใหญ่เบ้บี้พับ กะโหลกใหญ่และยาว เป็นไก่ฉลาดดี
สีสัน ไก่จันทบุรี มีเก่งๆ สี คือสีประดู่กับสีเหลือง เป็นไก่สีแปลกไปกว่าตำรา คือประดู่หางหมก เหลืองหางดำจะเก่งกว่าสีอื่นๆ ต้นตระกูลไก่จันทบุรีน่าจะมาจากไก่ประดู่ผสมเหลือง สีที่เก่งๆจึงเป็นสีผสม
เกล็ด แข้ง ขา ไก่จันทบุรี จะมีเกล็ดแข้งใหญ่แบบไก่เวียดนาม ขนน้อย สร้อยสั้น หางสั้น แข้งเป็นลำหวาย นิ้วยาวมีเกล็ดพิฆาตดี
ชั้นเชิงลีลา ไก่จันทบุรี มีชั้นเชิงเหมือนๆกับไก่ตราด จะชน คอ ปีก ขา แบบไก่ตราด เชิงถนัดคือขี่ มัดปีก
สรุปไก่จันทบุรี เหมือนๆกับไก่ตราด เป็นไก่ตีแข็งแรง ชนคล่องแคล่วว่องไว แต่เป็นไก่ตัวสั้นจะมีปัญหาเรื่องแรงถ้าชนมากอัน<
ไก่เชิงดีทั้ง แหล่งดังกล่าวมานี้ หมายถึงไก่เชิงแต่โบราณ เป็นต้นตระกูลของไก่เชิงทั่วไปของประเทศไทยเป็นไก่เก่งแต่ก่อน ปัจจุบันนัก ผสมพันธุ์ไก่ได้พัฒนาหาจุดเด่นกำจัดจุดด้อยออกไป ไก่ทั้ง แหล่ง ยังเป็นไก่ครบเครื่องเหมือนเดิม ถ้าเราสามารถเลือกเอาจุดเด่นของแต่ละแหล่งมา เอาจุดด้อยออกไป แล้วผสมข้ามแหล่ง ระหว่างตราด - พนัสฯ - บางคล้า - แปดริ้ว และจันทบุรีก็จะได้ไก่ที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันก็มีคนทำขึ้นมาแล้วและ ได้ผลดีกว่าไก่ยุคเก่าๆ


ขอขอบคุณไก่เชิง-วิกิพีเดีย

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาของ ไก่เหล่าป่าก๋อย

ไก่ป่าก๋อย

ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยนั้น เราพอทราบกันอยู่แล้วว่ามีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย จังหวัดลำพูน แต่ต้นกำเนิดรากเหง้าเป็นมากันอย่างไร วันนี้เราจะลองไปสืบประวัติกันคร่าวๆ นะครับ ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยเริ่มเป็นที่รู้จักในภาคเหนือเมื่ออดีตกาลประมาณปี พ.ศ.2526-2527 (เกือบ 30 ปีมาแล้ว ) แต่ก่อนหน้าที่ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยจะเกิดขึ้น ในยุคนั้นเป็นช่วงที่ไก่พม่าเข้ามาเฟื่องฟูทางภาคเหนือของประเทศ

ด้วยความที่การชนไก่ทางภาคเหนือเป็นการชนแบบปล่อยตอ ตอที่ถูกหลาวแต่งจนแหลมคม ด้วยความที่ไก่พม่าเป็นไก่อาวุธดี ตีเร็ว มีแม่น ใช้ตอแทงได้ดี ตีแผลวงแดงเป็นหลัก ตีหู ตีตา แถมด้วยลีลาที่หลุดลอดถอด ถอย รำวง ม้าล้อ ว่ากันง่าย ๆ ก็คือมวยวงนอก ชกแล้วถอยหลอกล่อจนคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ไทยในยุคนั้นสู้ไม่ได้ แพ้เป็นส่วนมาก ชนะน้อย ไก่ไทยทางภาคเหนือตอนนั้นส่วนใหญ่อาจสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 เชิงชน เชิงชนแรกจะเป็นไก่ ยืนตี จิ้มตี ปากไว ตีเม่น ตีวงแดง ซึ่งทางภาคกลางเราเรียกว่าไก่โจ้ ยืนแลกแข้งกัน เชิงชนที่ 2 ก็มีลักษณะเป็นไก่เชิง มุดมัด กอดตีลักษณะคล้ายไก่ตราด ทั้งสองลักษณะนี้ เป็นไก่พื้นเมืองของทางเหนือที่คนเหนือเรียกว่า ไก่เมือง ขนาดรอย ก็ส่วนใหญ่ก็มีน้ำหนักอยู่ที่ 2.0 – 2.5 กก.ขาดเกินก็ไม่มากจากนี้สักเท่าไหร่นัก
ไก่ป่าก๋อย
จากข้อมูลที่ว่ากันว่ามีการนำไก่จันทบุรีหรือไก่ทางภาคตะวันออกของไทยเราที่มีลักษณะเป็นไก่เชิงเข้าผสมกับไก่เมืองเหล่านี้ แล้วเกิดไก่เหล่าป่าก๋อยขึ้นมา ก็อาจมีส่วนถูกอยู่บ้างแต่ก็ไม่แน่ชัดนักครับ เพราะรุ่นแรกๆที่ออกมาถือว่าใช้ได้ แต่รุ่นหลังมาก็เริ่มแย่ลง กระทั่งต่อมาอีกหลายปี เมื่อไก่ผสมข้ามพันธุ์กันไปมาระหว่าง 3 สายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างข้นอยู่ระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะเลือดความเป็นนักสู้ในบรรพบุรุษไก่ไทยที่ถูกไก่พม่ารุกรานมานานก่อให้เกิดไก่ที่มีลักษณะมีเชิงชนแบบไก่เชิง มุด มัดตี แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็ลักษณะเป็นไก่ที่ปากบอน จิกได้ตรงไหน ตีตรงนั้น คล่องแคล่ว ว่องไว ตีตัวเป็นหลัก ไม่ต้องห่วงหาหัวแล้ว แถมจิกตีแล้วขนหลุดติดปากมาด้วย พอลองเลี้ยงออกชนกับไก่พม่า ปรากฏว่า ไก่พม่าแพ้อย่างราบคาบ ธรรมชาติช่วยเติมเต็มอย่างน่าอัศจรรย์ครับ ไก่พม่าเป็นมวยวงนอก เรียกได้ว่าเป็นมวยสากล ต่อยหนี แย็บหนี แต่ไก่ที่เกิดขึ้นมาเป็นไก่วงใน หรือมวยวงใน เป็นมวยเข่าไร้น้ำใจ คว้าได้เป็นแทง คว้าได้เป็นแทงครับพี่น้อง แต่ตอนนั้นเขาก็ยังไม่ได้เรียกว่าไก่เหล่าป่าก๋อยนะครับ ไก่ลักษณะนี้เริ่มสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น พากันโจษจันกันไปทั่ว ว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก แถมเอาชนะไก่พม่าได้อย่างสวยงามอีกด้วย ในช่วงแรกการเกิดไก่ที่มีลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกตัว หากแต่เกิดขึ้นกับไก่บางตัวเท่านั้นและยังไม่ใช่พันธุ์แท้ครับ

ไก่ป่าก๋อย
แต่โดยธรรมชาติของนักเพาะพันธุ์ไก่ชนเมื่อพบเห็นไก่ตัวใดชนชนะก็มักอยากเอาตัวเมียมาผสมด้วยและหากตัวใดออกมากัดตีไม่เลือก เชิงชนดี ตีลำหนัก ชนชนะก็เก็บเอาไว้ทำพ่อพันธุ์ แม่ไหนให้ลูกออกมามีลักษณะอย่างที่ว่าก็เก็บเอาตัวมัน ลูกสาวมันเอาไว้ทำพันธุ์ต่อจากไก่ที่คาบบ่าตีตัว จิกตีไม่เลือกจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อยหมู่บ้านเดียวผสมไขว้กันไปมา พี่น้องผสมกัน ปู่ผสมหลาน ผสมตามแบบชาวบ้านที่อยากให้ไก่เลือดนิ่ง และอาจเกิดจากพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดังกล่าวมีน้อยตัวในช่วงแรก ทำให้เกิดการผสมแบบเลือดชิดบ้าง(อินบรีด) ผสมในวงศ์ตระกูลเดียวกัน(ไลน์บรีดบ้าง) วันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี ไก่ลักษณะดังกล่าว ก็เริ่มนิ่งลงเหล่า เริ่มที่จะสามารถส่งยีนเด่น ๆ ที่เป็นลักษณะไก่กัด คาบบ่า ตีตัว กัดไม่เลือกที่ได้แล้ว ถึงเวลานี้ (ราวปี พ.ศ.2526) สายพันธุ์แท้อีกสายพันธุ์หนึ่งของไทยก็เริ่มเกิดขึ้น

ผมอยากจะเอ่ยถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วท่านหนึ่งที่ทำให้ไก่เหล่าป่าก๋อยเป็นที่รู้จัก เขาคือ นายเดช ปาปวน เป็นชาวบ้านเหล่าป่าก๋อย และเป็นหลานของกำนันแก้ว ปาปวนเป็นผู้ที่ไก่ชนที่มีลักษณะกัดตี จิกตีไม่เลือก คาบบ่าตีลำตัวเป็นหลัก ออกชนตามสนามชนไก่แถวจังหวัดเชียงใหม่ จนเซียนไก่ผู้พบเห็น ประทับใจเชิงชนของไก่ดังกล่าว และสอบถามกันว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก ไม่มีใครว่าเป็นไก่อะไร รู้แต่ว่ามันมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ชาวไก่ชนจึงเรียกไก่ที่มีลักษณะเชิงชนอย่างนี้สั้น ๆ ว่า “ไก่เหล่าป่าก๋อย”
ไก่ป่าก๋อย



ขอขอบคุณ ไก่ชนป่าก๋อย-วิกิพีเดีย

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติไก่ชน






ไก่ชน มีประวัติเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ( 356 – 323 ปี ก่อนคริสตกาล ) ซึ่งเป็นจอมจักรพรรดิของกรีก ได้กรีธาทัพแผ่อิทธิพลขยายอาณาจักรเข้ามายังประเทศอินเดีย มีเรื่องเล่ากันว่าแม่ทัพนายกองได้เห็น การชนไก่ ที่อินเดีย จึงได้นำ ไก่ชน ไปขยายพันธุ์ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากนั้นได้นำไก่ที่ขยายพันธุ์ได้ไปฝึกให้มีชั้นเชิงการต่อสู้แบบโรมัน เพื่อนำไปต่อสู้ในสนามโคลีเซียม เมื่ออังกฤษปกครองอินเดียได้นำ ไก่ชน จากอินเดียเข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยยอมรับว่า กีฬาไก่ชน เป็นเกมกีฬาที่ควรได้รับความนิยมจากบุคคลชั้นสูงเช่นเดียวกับการแข่งม้าและฟันดาบ นอกจากนี้ กีฬาชนไก่ ยังได้เผยแพร่เข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ไก่ชนในเอเซีย กีฬา ไก่ชน หรือ ตีไก่ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเซีย เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การชนไก่ ในแถบเอเซียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และเชื่อว่า ไก่ชน มีพัฒนาการมาจาก ไก่ป่า ซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารประจำบ้าน เมื่อ ไก่ป่า มาอยู่กับคนนานเข้า ก็ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นิสัยประจำตัวของไก่คือหวงถิ่นที่อยู่ ถ้ามีไก่ตัวอื่นๆ ข้ามถิ่นเข้ามาก็จะออกปกป้องที่อยู่อาศัย หรือเมื่อมีการแย่งผสมพันธุ์กับตัวเมีย ไก่ตัวผู้ก็จะตีกัน ซึ่งทำให้เกิดการถือหางกันระหว่างเจ้าของไก่ และด้วยนิสัยของนักพนันจึงทำให้มีการแข่งขันกัน การพัฒนาสายพันธุ์ของ ไก่ป่า จึงมีวิวัฒนาการเรื่อยมา

ไก่ชนในเมืองไทย ในอดีต พันธุ์ ไก่ชน ไทยเป็น “ มรดกของไทย “ มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือพันธุ์ “ ประดู่หางดำ ” และ “ เหลืองหางขาว ” ในสมัยกรุงสุโขทัย ไก่ชนประดู่หางดำพันธุ์แสมดำ ได้ชื่อว่า “ ไก่พ่อขุน ” เนื่องจากว่าเป็นไก่ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงโปรด สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำ “ ไก่เหลืองหางขาว ” จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ไปชนชนะไก่ของพระมหาอุปราชาที่กรุงหงสาวดี ไก่พันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน ตามซุ้มที่เลี้ยง ไก่ชน มักจะมี ไก่ชนเหลืองหางขาว เลี้ยงไว้เพื่อเป็นไก่นำโชค และนิยมเรียกชื่อว่า “ ไก่เจ้าเลี้ยง ”

ต้นตระกูลของไก่ ไก่ เป็นสัตว์ปีกประเภทนก ต้นตระกูลมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ดังปรากฏพบหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของนกชนิดแรกในโลก ที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ. 1861 ซากดังกล่าวมีอายุประมาณ 130 ล้านปี มีลักษณะกึ่งนกกึ่งสัตว์เลื้อยคลาน คือที่ปากมีฟัน มีเล็บยื่นออกมาจากปลายปีกและมีกระดูกหางยาว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน ในขณะเดียวกันก็มีขนปกคลุมลำตัวเช่นเดียวกับนก ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เรียกซากนี้ว่า “ อาร์คีออพเทอริกซ์ ”จาก “ อาร์คีออพเทอริกซ์ ” ได้พัฒนาการสืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งกลายเป็นนกที่มีขนาดของรูปร่าง สี และอุปนิสัยที่แตกต่างกันออกไปกว่า 9,000 ชนิด สามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 27 อันดับ และ 1 ใน 27 อันดับ คือ Galliformes ซึ่งเป็นอันดับของ ไก่ป่า ไก่งวง ไก่ต๊อก ไก่ฟ้า ฯลฯ และถ้าแยก ไก่ เหล่านี้ออกเป็นวงศ์ ไก่ป่าและไก่ฟ้าจัดอยู่ในวงศ์ Phasianidae ไก่ต็อกอยู่ในวงศ์ Numididdae และไก่งวงอยู่ในวงศ์ Meleagrididae


เนื่องจากประเทศไทยอยู่ใกล้กับอินเดีย จึงทำให้ไทยได้รับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนศิลปวิทยาการต่างๆมาจากอินเดียหลายอย่าง อาจจะเป็นไปได้ที่ไทยได้นำ ไก่ชน จากอินเดียมาเพาะเลี้ยง และคงจะมีการนำ ไก่ชน เข้ามาก่อนที่อังกฤษจะนำ ไก่ชน ไปจากอินเดีย ทั้งนี้เนื่องจากว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงใช้ ไก่ชน ดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองมาก่อนที่อินเดียจะเสียเอกราชให้แก่อังกฤษเสียอีก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเป็นไปได้ที่ ไก่ชน ของไทยมีมานานก่อนแล้ว แต่ ไก่ชนพันธุ์อินเดีย คงจะเข้ามาในประเทศไทยพร้อมๆ กับศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรมอื่นๆ


ลักษณะไก่ชน


เรื่อง การกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช
ความเป็นมา ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในพงศาวดารเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลกเพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ที่มีลักษณะพิเศษ มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้จึงชนชนะจนได้สมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ทำการค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดทำการประกวดครั้งแรกเมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ และในปี ๒๕๓๔ ได้จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จนถึงปี ๒๕๔๔ ได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรขึ้นทุกอำเภอรวม ๑๒ กลุ่ม
แหล่งกำเนิด ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชเป็นไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาวและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขนาดนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชนับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลกและเป็นสมบัติของชาติไทยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาไก่ชนพระนเรศวรมหาราชงานดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ดังต่อไปนี้
สายพันธุ์ เหลืองหางขาว
ขนาด เพศผู้มีน้ำหนักตั้งแต่ ๓ กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ ๖๐ เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) และเพศเมียมีน้ำหนักตั้งแต่ ๒ กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ ๔๕ เซนติเมตร ขึ้นไป
ลักษณะประจำพันธุ์
เพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๑.หัว มีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูง
๑.๑. กระโหลก กระโหลกอวบกลมยาว ๒ ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย
๑.๒. หน้า ลักษณะคล้ายหน้านกยูง หน้าต้องแดงจัด
๑.๓. ปาก รูปร่างคล้ายปากนกแก้วลักษณะแข็งแรงมั่นคงมีสีขาวอมเหลือง โคนปากใหญ่และปลายปากคม ปากบนปิดปากล่างสนิท ปากบนมีร่องน้ำลึกตั้งแต่โคนตรงรูจมูกถึงกลางปาก
๑.๔. หงอน ลักษณะหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อมมีสีแดงจัด
๑.๕. จมูก รูจมูกกว้างและยาวฝาปิดรูจมูกมีสีขาวอมเหลือง
๑.๖. ตา มีขนาดเล็ก ตามีสีขาวอมเหลือง(ตาปลาหมอตาย) มีเส้นเหลืองแดงโดยรอบ หัวตาแหลมเป็นรูปตัววี (v) มีลักษณะเรียวและสดใส
๑.๗. หู หูทั้งสองข้างมีขนสามสี คือ สีขาว สีเหลือง สีดำ ขนหูมีมากปิดรูหูสนิทไม่มีขี้หู
๑.๘. ตุ้มหู ตุ้มหูเป็นสีแดงจัดเหมือนสีของหน้า ขนาดไม่ใหญ่และไม่ยาน
๑.๙. เหนียง ต้องไม่มี(ลักษณะคางรัดเฟ็ด)
๑.๑๐. คิ้ว โหนกคิ้วนูนเป็นเส้นโค้งบังเบ้าตา
๒. คอ คอยาว(สองวง) และใหญ่กระดูกข้อถี่
๓. ลำตัว ลำตัวกลมยาว(ทรงหงส์)จับได้ ๒ ท่อน
๓.๑. ไหล่ กระดูกซอกคอใหญ่ ไหล่กว้าง
๓.๒. อก อกกว้างใหญ่กล้ามเนื้อเต็มกระดูกหน้าอกแข็งแรงโค้งเป็นท้องเรือและยาว(ไม่คดงอ)
๓.๓. กระปุกหาง มีขนาดใหญ่ชิดกับบั้นท้าย
๓.๔. ต่อมน้ำมัน มีขนาดใหญ่๑ต่อม อยู่บนกระปุกหาง
๓.๕. ตะเกียบตูด เป็นกระดูก ๒ชิ้น ออกจากกระดูกซี่โครงคู่สุดท้ายยาวมาถึงก้นแข็งแรงหนาโค้งเข้าหากันและชิดกัน
๔. ปีก ปีกเมื่อกางออก จะเป็นกล้ามเนื้อปีกใหญ่หนาตลอดทั้งปีกเอ็นยึดกระดูกแข็งแรงปีกขึ้นหนาแน่นชิดมีความยาวเรียงติดต่อกัน จากหัวปีกถึงท้ายปีกและยาวถึงกระปุกหาง
๕. ขา ขาได้สัดส่วนกับลำตัว
๕.๑. ปั้นขา กล้ามเนื้อโคนขาใหญ่ทั้งสองข้าง เวลายืนโคนขาอยู่ห่างกัน
๕.๒. แข้ง มีลักษณะเรียวเล็กกลมสีขาวอมเหลือง
๕.๓. เดือย โคนมีขนาดใหญ่ต่ำชิดนิ้วก้อยส่วนปลายเรียวแหลมคมและงอนเล็กน้อย มีสีขาวอมเหลือง
๖. เท้า มีความสมบูรณ์ คือ นิ้วครบไม่คดงอ
๖.๑. นิ้ว มีลักษณะยาวปลายเรียวมีท้องปลิงใต้ฝ่าเท้า นิ้วกลางมีเกล็ดตั้งแต่ ๒๐ เกล็ด ขึ้นไป ส่วนนิ้วก้อยจะสั้น
๖.๒. อุ้งตีน หนังอุ้งตีนไม่ติดพื้น
๖.๓. เล็บ โคนเล็บหนาแข็งแรงปลายแหลมมีสีเหมือนแข้ง คือ ขาวอมเหลือง
๗. ขน ขนเป็นมันเงางามระยับ
๗.๑. ขนพื้น มีสีดำตลอดลำตัว
๗.๒. สร้อย มีลักษณะสร้อยประบ่าระย้าประก้น คือ สร้อยคอขึ้นหนาแน่นยาวประบ่า สร้อยหลังยาวระย้าประถึงก้นมีลักษณะเส้นละเอียดปลายแหลม ส่วนสร้อยปีกและสนับปีกก็มีสีเดียวกัน
๗.๓. ขนปีก ปีกนอก (ตั้งแต่หัวปีกถึงกลางปีก) มีไม่น้อยกว่า ๑๑ เส้น ปีกใน(ตั้งแต่กลางปีกถึงปลายปีก) มีสีดำไม่น้อยกว่า ๑๒ เส้น ปีกไช (ปีกแซมปีกนอก) มีสีขาวไม่น้อยกว่า ๒ เส้นถ้าหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีก ๒-๓ เส้น เมื่อกางปีกออกจะมองเห็นปีกนอกมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
๘. หาง หางเป็นพวงและเป็นพุ่มเหมือนฟ่อนข้าว
๘.๑. หางพัด มีข้างละไม่น้อยกว่า ๗ เส้น มีสีขาวเป็นจำนวนมาก
๘.๒. หางกระรวย คือ ขนหางคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะมีสีขาวปลอดทั้งเส้นมีขนรองหางกระรวยหรือหางรับไม่น้อยกว่า ๖ เส้น และมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
๘.๓. ระย้าหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสร้อยหลังมีลักษณะปลายแหลมปกคลุมกระปุกหาง ขอบขนมีสีเหลืองเหมือนสร้อยหลัง
๙. หลัง หลังแผ่แบนใหญ่
๑๐. กริยาท่าทาง
๑๐.๑. ท่ายืน ยืนยืดอกหัวปีกยกท่าผงาดดังราชสีห์
๑๐.๒. ท่าเดินและวิ่ง ที่เดิน สง่าเหมือนที่ยืน เวลาเดินเมื่อยกเท้าขึ้นจะกำนิ้วทั้งหมดเมื่อย่างลงเกือบถึงพื้นดินจะแบนิ้วออกทั้งหมด เวลาวิ่งย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ
๑๐.๓. ที่ขัน ขันเสียงใหญ่ยาวชอบกระพือปีก และตีปีกแรงเสียงดัง
๑๑. ลักษณะพิเศษ
๑๑.๑. พระเจ้าห้าองค์ คือ มีหย่อมกระ(มีขนสีขาวแซม) ๕ แห่ง ได้แก่ (๑)หัว (๒)หัวปีกทั้งสองข้าง และ (๓)ข้อขาทั้งสองข้าง
๑๑.๒. เกล็ดสำคัญ ได้แก่เกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บชั้นใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู นอกจากนี้ยังมีเกล็ดกากบาท จักรนารายณ์ ฯลฯ
๑๑.๓. สร้อยคอสร้อยหลังสร้อยปีก(สนับปีก) เป็นสีเหลืองทอง เรียกว่า เหลืองประภัสสร
๑๑.๔. สร้อยสังวาลย์ เป็นสร้อยบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเดียวกับสร้อยคอและสร้อยหลัง
๑๑.๕. ก้านขนสร้อยและหางกระรวย มีสีขาว
๑๑.๖. บัวคว่ำ-บัวหงาย บริเวณใต้โคนหางเหนือทวารมีขนประสานกันลักษณะแหลม ที่โคนหางดูคล้ายบัวคว่ำ-บัวหงาย
ลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องของเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๑. ข้อบกพร่องร้ายแรง
๑.๑. กระดูกอกคด
๑.๒. นิ้วหรือเท้าบิดงอ
๑.๓. ไม่มีเดือย
๑.๔. แข้งไม่ขาวอมเหลืองตลอด(แข้งมีสีดำหรือแข้งลาย)
๒. ข้อบกพร่องไม่ร้ายแรง
๒.๑. เท้าเป็นหน่อ
๒.๒. ปากไม่ขาวอมเหลืองตลอดหรือมีจุดดำที่โคนปาก
๒.๓. ในขณะหุบปีกขนปีกมีสีขาวแลบออกมาทางด้านขวางคล้ายปีกนกพิราบ
๒.๔. เดือยหักหรือตัดเดือย
๒.๕. สุขภาพไม่สมบูรณ์(เจ็บป่วยหรือมีบาดแผล)
๒.๖. ลักษณะไม่เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ข้างต้น
เพศเมียหรือแม่พันธุ์
๑. หัว มีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูงได้แก่กระโหลก หน้า ปาก หงอน จมูก ตา หู และคิ้วมีลักษณะคล้ายเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๒. คอยาว ใหญ่และกระดูกถี่
๓. ลำตัว มีลำตัวยาวกลม (ทรงหงส์) ได้แก่ ไหล่ อก กระปุกหาง ต่อมน้ำมันมีลักษณะคล้ายเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ส่วนปลายของตะเกียบตูดห่างกันทำให้ไข่ดกและฟองโต
๔. ปีก ลักษณะทั่วไปคล้ายเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๕. ขา ได้สัดส่วนกับลำตัวปั้นขาและแข้งมีลักษณะเช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๖. เท้า มีความสมบูรณ์ทั้งนิ้ว อุ้งตีน และเล็บ
๗. ขน ขนเป็นมันเงางามขนพื้นมีสีดำตลอดลำตัวมีขนสีขาวกระ(สีขาวแซม) บริเวณหัว หัวปีก และข้อเท้า(ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์) ขนปีกเมื่อหุบมีสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีกไม่เกิน ๒-๓ เส้น เมื่อกางปีกจะมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
๘. หาง มีหางพัดเป็นจำนวนมากชี้ตรงหรือตั้งขึ้นเล็กน้อยมีสีขาวแซม
๙. หลัง เช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๑๐. กริยาท่าทาง การยืนเดินและวิ่งเช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๑๑. ลักษณะพิเศษ มีลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์และเกล็ดที่สำคัญเช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ หากมีเดือยจะจะดีมากและมีสีขาวอมเหลืองด้วย
ลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องของเพศเมียหรือแม่พันธุ์
๑. มีลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นเดียวกับเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
๒. ขนปีกและขนหางมีจุดขาวมากเกินกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์
๓. สุขภาพไม่สมบูรณ์(เจ็บป่วยหรือมีบาดแผล)
๔. ลักษณะที่ไม่เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ข้างต้น  


ขอขอบคุณ ไก่ชน-วิกิพีเดีย